วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

1.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ คอมพิวเตอร์มี 8 ประเภท ได้แก่
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน




2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น




ที่มา : http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm


3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น




4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง






5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) จัดทำสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล



6.พีดีเอ PDA Personal digital assistants หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "PDA" (Personal digital assistants) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งนั่นเองคะ เพียงแต่ว่ามันถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวกและยังสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว คนทั่วไปนิยมใช้พีดีเอในการจดบันทึก, เก็บข้อมูล, เตือนเวลานัดหมาย, ปฏิทิน นอกจากนี้ เราสามารถเพิ่มแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่น ๆ ตามที่เราต้องการได้อีกด้วยนะคะ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง บันทึกเสียง เกมส์ การทำเอกสาร word หรือ excel ทุกวันนี้พีดีเอหลัก ๆ ที่เรารู้จักกันก็จะมีพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC เครื่องพีดีเอหลายรุ่นมีความสามารถเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยทีเดียวนะคะ สามารถต่อเน็ตเวิร์ค จีพีอาร์เอส (GPRS) มี วายฟาย (Wifi) เชื่อมเครื่องพีดีเอเข้าอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะใช้เป็นโทรศัพท์มือถือ มีจีพีเอส (ระบบติดตามตัวผ่านดาวเทียม) กล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ได้ด้วย



7. คอมพิวเตอร์เครือข่าย ( Network Computer )การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้



8. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม





2.คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร ใช้ประโชยน์อะไรได้บ้าง
ตอบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ


ที่มา : http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm





3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูล (Data) ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประมวลผลใดๆ จึงเป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยขั้นตอนในการประมวลคือมีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร แล้วนำไปดำเนินการประมวลผลโดย ใช้วิการจัดแบ่งข้อมุล แบ่งเป็นกลุ่มๆตามประเภทและจัดเรียงข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและ สุดท้ายการคำนวณข้อมูล ซึ่งข้อมุลบางตัวนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจึงจะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งานและเป็นข้อมุลสุดท้ายที่ได้มานั้นดีที่สุด และหลังจากการประมวลผลแล้วนั้นเราก็ต้องจัดเก็บข้อมูล โดยอาจจะใช้การจัดเก็บลงเครื่องหรือสื่อบันทึกต่างๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อีกด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "ข้อมูล" คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่ม เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับ "สารสนเทศ" นั้นคือ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆแล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถนำมาอ้างอึง ใช้งานได้เลย






4.VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม







5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในประโยชน์อะไรบ้าง

ตอบ เราจะใช้คอมพิวเตอร์โดย

1. การพิมพ์งานต่างๆ

2.ใช้ในการสืบหาข้อมุลต่างๆ

3.ใช้เล่นเพื่อความบันเทิง ผ่อนคลาย

4.ใช้เพื่อศึกษา

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข่าวคอมพิวเตอร์




อวดไมโครชิพกินไฟน้อยที่สุดในโลก
ขนาดเพียง 1มม. แบตนาฬิกาก้อนเดียวอยู่ได้ 200 ปี คาดช่วยย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เล็กลง
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สก็อต แฮนสัน นักศึกษาปริญญาเอก คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ออกแบบไมโครชิพที่กินไฟน้อยลง 10% เมื่อเทียบกับชิพที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และเมื่ออยู่ในสถานะ “สลีฟโหมด” จิบกระแสไฟน้อยลง 3 หมื่นเท่า
ชิพดังกล่าวกินกระแสไฟเพียง 30 พิกโควัตต์ในช่วง “พักการทำงาน” หรือสลีฟโหมด (1 พิกโควัตต์เท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านล้านวัตต์) หรือถ้าเป็นแบตเตอรี่ก้อนจิ๋วของนาฬิกา 1 ก้อนสามารถใช้กับซีพียูที่นักศึกษารายนี้คิดค้นได้นาน 263 ปี
เขาตั้งชื่อซีพียูของเขาว่า ฟีนิกซ์ โปรเซสเซอร์ เป็นซีพียูที่กินไฟน้อยที่สุดในโลก ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังไว้ในร่างกาย หรือใช้ตรวจจับสภาพแวดล้อม และอุปกรณ์ตรวจตราความปลอดภัย
ซีพียูฟีนิกซ์มีขนาดหนึ่งตารางมิลลิเมตร อาจฟังดูว่าเล็กมาก แต่เป็นเรื่องปกติของชิพที่ใช้กับเซ็นเซอร์ และอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ บางตัวมีขนาดเล็กกว่าด้วยซ้ำ เพียงแต่ชิพฟีนิกซ์มีขนาดบางเท่ากับแบตเตอรี่ชนิดแผ่นฟิล์ม และนี่เองคือหัวใจของความสำเร็จ
โดยทั่วไปแล้ว แบตเตอรี่จะมีขนาดใหญ่กว่าซีพียูมาก ทำให้ขนาดของอุปกรณ์และต้นทุนผลิตสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ยกตัวอย่าง แบตเตอรี่สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมีขนาดใหญ่กว่าซีพียูถึง 5,000 เท่า และยังใช้งานได้ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
หากผลิตซีพียูที่กินไฟน้อยลงขนาดแบตเตอรี่ก็เล็กลงด้วย ช่วยให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง สำหรับระบบเซ็นเซอร์ชิพของทีมนักศึกษารวมแบตเตอรี่แล้วมีขนาดเล็กกว่า 1,000 เท่าเทียบกับระบบเซ็นเซอร์ที่คุยว่าเล็กที่สุด และเปิดพรมแดนใหม่ให้แก่อุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ
ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกนทดสอบใช้ชิพฟีนิกซ์กับเซ็นเซอร์ฝังร่างกายเพื่อตรวจจับแรงดันในลูกตาของผู้ป่วยโรคต้อหิน อนาคตชิพลักษณะนี้จะนำไปใช้สร้างเครือข่ายตรวจสภาพอากาศและน้ำ หรือติดตามการเคลื่อนที่ รวมถึงฝังในคอนกรีตติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ด้านการแพทย์สามารถนำไปใช้กับเครื่องปรับจังหวะเต้นของหัวใจที่อ่านข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้ละเอียดยิ่งขึ้น

ข่าวคอมพิเตอร์



เมื่อ “อินเทล” เป็นได้มากกว่า “ชิพ”
ถึงเวลาแล้วที่ “อินเทล” ผู้ผลิตชิพซิลิกอนรายใหญ่ที่สุดของโลก จะออกมาป่าวประกาศให้ทุกคนรับรู้ว่า “อินเทล” ทำอะไรได้อีกมากมาย...ไม่ใช่แค่ “ชิพ”
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : แม้ว่าอินเทลจะสามารถสร้างเงินจากธุรกิจต่างๆ ได้นับหมื่นล้าน แต่ “จัสติน แรทเนอร์” กรรมการบริหารด้านเทคโนโลยี และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย กลับบอกว่าต้องการที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่ทุกคนมีต่อองค์กร
“ภาพที่คนทั่วไปมีต่ออินเทลในด้านการเป็นผู้นำนวัตกรรม ทุกวันนี้มีเพียงแค่ "โอ้ ใช่ มีสติกเกอร์ติดอยู่ที่คอมพิวเตอร์ของฉัน แสดงว่ามีของอินเทลอยู่ข้างใน" ทั้งๆ ที่จริงแล้วสิ่งที่เราทำนั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้เลยว่าการประดิษฐ์คิดค้นของเรานั้นเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไร”
เพื่อลบล้างภาพเก่าๆ ไม่นานนี้อินเทลจึงจัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชน เพื่อโชว์โปรเจคต่างๆ ที่ทีมวิจัยของอินเทลเชื่อว่าจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราทุกคน

กว่า 70 โปรเจคตั้งแต่ด้านการแพทย์ ไปจนถึงวิชวลคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีไร้สาย หรือแม้แต่ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่อินเทลกำลังวิจัยโดยทุ่มงบไปกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
“โปรเจคที่เราหยิบยกมานี้เป็นการวิจัยที่เราทุ่มทุนไปมากกว่า 2 เท่าในรอบสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยให้วงการแพทย์ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น และช่วยให้เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้จากอุปกรณ์อะไรก็ได้ จากที่ไหนก็ได้ในโลกนี้” แรทเนอร์กล่าวอย่างภูมิใจ

การค้นหาภาพและวิดีโอ “อัจฉริยะ”
แม้ว่ากล้องดิจิทัลทำให้หลายๆ คนกลายเป็นคนชอบถ่ายรูป แต่ปัญหาก็คือหลังจากนั้นเรามักโหลดรูปลงในคอมพิวเตอร์ และจากนั้นก็ทิ้งรวมกันไว้ ทั้งไฟล์รูปถ่ายและวิดีโอ
ศูนย์วิจัยของอินเทลในจีน เชื่อว่าเทคโนโลยีค้นหาภาพและวิดีโออัจฉริยะจะช่วยจัดหมวดหมู่รูปและวิดีโอ ให้กลายเป็นอัลบั้มที่ง่ายต่อการค้นหา โดยอินเทลได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ “ไมโครโปรเซสเซอร์” ในการคัดแยกรูปภาพและวิดีโอจากลักษณะร่วมที่กำหนด
“มันเป็นระบบที่สามารถค้นหาความคล้ายกันของรูปต่างๆ ซึ่งอาจสามารถแยกเป็นประเภทได้ไม่ว่าจะเป็นรูปสัตว์, ใบหน้า หรือรถ จากนั้นระบบก็จะจัดประเภทเองว่ามันมีความคล้ายกับรูปอื่นหรือไม่อย่างไร” ลิน เชา กล่าว
รูปที่ค้นหาได้ง่ายที่สุดทั้งจากรูปถ่ายหรือวิดีโอก็คือ “ใบหน้า” โดยซอฟต์แวร์นี้จะค้นหาใบหน้าในรูปถ่าย และพล็อตใบหน้าถึง 68 จุด และเช็คลักษณะหลักอันได้แก่หน้าผาก, ดวงตา, คิ้ว, จมูก และปาก
จากนั้น สมมติว่าเราระบุว่านี่คือภาพของแม่ เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเรียกค้นดูรูปทั้งหมดและหารูปที่เหมือนกันออกมา เพื่อให้เราจัดอัลบั้มรวมรูปถ่ายของแม่ได้อย่างง่ายดาย

วิทยาการการแพทย์สุดล้ำหน้าด้วย “เมดิคอล วิชวลไลเซชั่น”
ในแต่ละปีมีราว 655,000 คนทั่วโลกที่เสียชีวิตจากมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และการตรวจพบและวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดการสูญเสียนี้ได้
อินเทลจึงได้ร่วมกับ “ฟิลลิปส์ เฮลธ์แคร์” สร้างโปรเจคขึ้นในอิสราเอล เพื่อทำให้สามารถตรวจพบและวินิจฉัยโรคนี้ได้เร็วขึ้น โดยใช้แอพพลิเคชั่น virtual colonoscopyที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยใช้ข้อมูลจากการทำ CT scan ซึ่งภาพที่ได้นั้นมีคุณภาพที่ชัดเจนและละเอียดกว่าเดิมมาก
“เราสามารถแสดงผลได้เร็วกว่าแอพพลิเคชั่นแบบเก่า และแสดงภาพได้จำนวนเฟรมต่อวินาทีมากกว่าเดิมถึงสองเท่า เราดีใจมากที่สามารถสร้างผลงานให้แก่โลกการแพทย์ได้” “ซี ดาโนวิช” กล่าว
“คอมมอน เซนส์” ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อม
โปรเจคนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
ด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดเคลื่อนที่ ผู้ใช้งานสามารถเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศในท้องที่นั้นๆ และส่งกลับมาให้ศูนย์กลางเพื่อทำการรวบรวม
“อลิสัน วู้ดรัฟฟ์” ในทีมพัฒนา “คอมมอน เซนส์” (Common Sense) กล่าวว่าด้วยการให้คนทั่วไปพกอุปกรณ์เคลื่อนที่ตัวนี้ไว้ พวกเขาก็จะสามารถทำคนธรรมดาๆ เป็นประชากรที่มีคุณค่า ด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลจากคนจำนวนมากเหล่านี้จะถูกส่งมายังเจ้าหน้าที่ไม่กี่คนเพื่อทำการอ่านผล
ขณะนี้กลุ่มทำงานกำลังทำโครงการนำร่องอยู่ที่ซานฟรานซิสโก โดยกำลังทำการศึกษาว่าจะใช้ข้อมูลที่ได้มากเป็นจำนวนมากให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
วู้ดรัฟฟ์กล่าวว่า ก้าวต่อไปคือการ “ส่งมอบอุปกรณ์เหล่านี้ให้แก่คนที่พร้อมจะช่วยเหลือ และพัฒนาซอฟต์แวร์คอมมูนิตี้ เพื่อให้คนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและศึกษาว่าจะใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดนโยบายได้อย่างไร”
Ray tracing เทคโนโลยีตามรอยลำแสง
ในทุกๆ วันนี้ เกมมีคุณภาพดีขึ้นมากจนเกือบเหมือนของจริง ด้วยการตามรอยลำแสงหรือ Ray tracing และอินเทลก็เชื่อว่าจะสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้แล้วในหนังฮอลลีวู้ดที่เพิ่งจะชนโรงอย่าง “กังฟู แพนดา” แต่นักวิจัย “แดเนียล โพล” กล่าวว่า “เรย์เทรสซิ่งยังคงเป็นโปรเจควิจัย แต่มันจะแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอนาคต”
เรย์เทรสซิ่ง ทำงานด้วยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างแสงต่างๆ ในฉากสามมิติ ซึ่งโพล กล่าวว่า “คุณสามารถใส่สเปเชียลเอฟเฟคท์ต่างๆ ได้มากมาย เช่นแสงสะท้อนบนผิวน้ำหรือในกระจก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากในเกม”
“เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกของเกมที่เหมือนจริงมากขึ้นทุกที ด้วยการสร้างภาพที่เหมือนภาพจริง และเลียนแบบสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกมเหมือนจริงและตื่นเต้นมากขึ้น” อย่างไรก็ตามเขายอมรับว่ายังต้องใช้เวลาพัฒนาระบบนี้อีกอย่างน้อย 2-3 ปี”
ทำงานบ้านด้วย “หุ่นยนต์รับใช้”
เมื่อ 4 ปีที่แล้วมีข่าวว่าจะมีหุ่นยนต์โรบอทเพื่อช่วยทำงานบ้าน แม้ปัจจุบันนี้มันยังไม่เกิดขึ้นจริง แน่นักวิจัยของอินเทล “ซิดฮาร์ธาร์ ศรีนิวาสา” เชื่อว่าโรบอทพ่อบ้านดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นจริงในไม่ช้านี้
ด้วยการใช้โปรแกรมการวางแผนการเคลื่อนไหว รวมถึงกล้อง แขนหุ่นยนต์ก็สามารถหยิบถ้วยสีดำและใส่ลงในอ่างล้างจานได้
การเคลื่อนไหวง่ายๆ แต่แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่โรบอททำได้ยากมาก ศรีนิวาสากล่าวว่า “นี่คือการเปลี่ยนแปลงวงการวิจัยด้านหุ่นยนต์ ด้วยการออกแบบแขนหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้เท่าความเร็วของมนุษย์”
“แขนจะไม่รู้ว่าถ้วยอยู่ที่ไหนจึงต้องทำการค้นหา มันจึงต้องเรียนรู้ว่าจะหยิบขึ้นมาและวางลงบนอ่างได้อย่างไรโดยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์หรือสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ”
มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ทุกคนบนโลกนี้ตื่นเต้นตกใจ แต่เขาก็เชื่อว่ามันเป็นสัญญาณของ “วันพรุ่งนี้”
“เราต้องการปล่อยโรบอทออกมาจากพื้นโรงงาน และเอามันมาอยู่กับคน หัวใจสำคัญก็คือความมีประโยชน์ของมันนี่เอง เราสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถล้างจาน, เก็บของเล่น, ชงกาแฟ และช่วยงานบ้านอื่นๆ ได้”
มือถือ “สื่ออารมณ์”

ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดในแต่ละวันในหลายรูปแบบ แต่ตอนนี้นักวิจัยของอินเทล และนักจิตวิทยา “มาร์กาเร็ต มอร์ริส” กำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกกว่า “Mood Phone” หรือมือถือที่สามารถสื่ออารมรณ์ได้ เพื่อช่วยรักษาสภาพจิตใจของคน
เธอกล่าวว่า “เราจะแปลรูปแบบการสนทนาทางการแพทย์ออกมาเป็นจอทัชสกรีนในโทรศัพท์มือถือ และคุณสามารถเช็คได้ตลอดเวลาว่าคุณรู้สึกอย่างไร”
เธอบอกว่าสิ่งที่มุ่งเป้าไปที่ “การทำให้คนได้รู้สาเหตการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป”
มีสัญญาณหลายอย่างที่บ่งบอกถึงความเครียด เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจที่ช้าลง และการเปลี่ยนแปลงของค่าความดันโลหิต ซึ่งสามารถตรวจวัดได้จากมือถือ
เมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง โทรศัพท์สามารถตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้าให้ส่งข้อความมาถึงคุณ และอาจจะถามง่ายๆ ว่าคุณเป็นอะไรหรือไม่ นอกจากนี้มันยังสามารถแนะนำวิธีการรับมือด้วย เช่นการฝึกลมหายใจ หรือการออกไปเดินเล่นสักพักหนึ่ง
เธอกล่าวว่าโปรเจคนี้ “ช่วยทำให้คนแข็งแรงขึ้น และมีความสุขมากขึ้น”

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข่าวคอมพิเตอร์


BenQ FP93VW จอแอลซีดีคุณภาพเยี่ยมด้านการแสดงผล
BenQ FP93VW LCD Monitor ล้ำหน้าด้วยดีไซน์ที่เฉียบขาด สง่างามด้วยสีขาวบริสุทธิ์ โดดเด่นด้วยจอภาพให้ความคมชัดและสีสันสดใสสมจริง ด้วยความเร็วในการตอบสนอง 5 มิลลิวินาที
BenQ FP93VW จอแอลซีดีมอนิเตอร์ที่มีคุณสมบัติหลากหลายที่สามารถนำมาใช้งานทั่วไปได้จนถึงด้านความบันเทิง ด้วยจอภาพแบบ WideScreen ขนาด 19 นิ้ว มีความละเอียดในระดับ 1440 x 900 พิกเซลแบบ WSXGA+ รองรับสีของการแสดงผลได้ถึง 16.2 ล้านสี จึงทำให้ FP93VW สามารถแสดงภาพที่สดใสและคมชัด และด้วยรูปแบบจอแสดงผลที่กว้างเป็นพิเศษ จึงช่วยลดภาพบิดเบือนหรือภาพสูญหาย
FP93VW ได้รับการออกแบบรูปทรงภายนอกที่เป็นสีขาวทั้งหมด ที่ถ่ายทอดความสง่างามอย่างเรียบง่าย ด้านประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม ประสานการทำงานต่างๆ ได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะป็นการเล่นเกม การรับชมภาพยนตร์ การใช้ทางด้านอินเทอร์เน็ต กราฟิกต่างๆ และการใช้งานกับแอพลิเคชันพื้นฐานด้วยความเร็วในการตอบสนองที่ 5 มิลลิวินาที ยิ่งไปกว่านั้นจอที่กว้างนี้ยังช่วยให้เห็นการทำงานสองหน้าต่างไปได้พร้อม ๆ กัน
นอกจากนี้อัตราส่วนของความคมชัด (Contrast) ที่ 700 : 1 และค่าของความสว่าง (Brightness) 300 cd/m2 จึงมั่นใจได้ว่าภาพที่คุณเห็นเป็นภาพที่สมจริงเสมอ อีกทั้งการประมวลผลภาพด้วย Dot Pitch ซึ่งมีขนาดเล็กเพียง 0.2835 มิลลิเมตร มีมุมของการมองภาพอยู่ที่ 140/130 องศาให้ภาพที่สดใสโดยไม่ต้องอึดอัดกับมุมมอง ซึ่งสนับสนุนการใช้งานที่หลากหลายได้เป็นอย่างดี
BenQ FP93VW ยังรองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต D-SUB และพอร์ต DVI ได้ทำให้ได้คุณภาพของภาพที่สมบูรณ์และการแสดงวิดีโอที่ยอดเยี่ยมที่สุด ไม่ว่าคุณจะใส่ตัวเสียบแบบอนาลอคหรือแบบดิจิตอลก็ตาม
จุดเด่นผลิตภัณฑ์
• การแสดงภาพที่โดดเด่น ด้วยความละเอียดขนาด 1440 x 900 (WSXGA+)
• สัมผัสประสบการณ์การตอบสนองรวดเร็ว 5 มิลลิวินาที
• รูปแบบเรียบง่ายและสง่างาม
• อัตราส่วนของความคมชัด 700:1
• ความสว่าง 300 cd/m2

คุณสมบัติของจอมอนิเตอร์
• Screen Size : 19.0" wide
• Resolution : 1440x900(WXGA+)
• Pixel Pitch : 0.2835
• Brightness : 300 cd/m2
• Contrast Ratio : 700 : 1
• Response Time : 5ms
• Display Area : 408.2 x 255.1 (mm)
• Display Colors : 16.2 million
• Viewing Angle : 150/140(CR>=10)
• Input Signals : DVI/D-sub
• Horizontal Frequency : 31 - 81
• Vertical Frequency : 50-76
• Video Bandwidth : 25 - 135
• Color Temperature : Reddish/Normal/Bluish /Mac standard/user mode
• Power Consumption : 45W (max)
• Power Supply : Built-in
• Features : i-Key
• Kensington : Lock
• Adjustments : Tilt (down/Up-2/22)
• Dimensions : 483.5 X 420 X 266.6mm
• Weight : 6.05kg
• Color : White

ข่าวคอมพิเตอร์




คอมพ์ฯ กระเป๋าหิ้ว 100 ดอลล์ มาแล้ว!!
แล็บท็อป 100 ดอลล์ ใกล้คลอด ถึงมือนักเรียนเดือนตุลาคม
ได้ยินข่าวเรื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว หรือ "แล็บท็อป" ราคา 100 ดอลลาร์ ที่จะแจกให้นักเรียนยากจนและอยู่ในชนบทมานานเกือบ 5 ปี
บัดนี้แล็บท็อบราคาถูกที่มีชื่อว่า "เอ็กซ์โอ" ที่มี ศ.นิโคลัส เนโกรปอนที เป็นเจ้าของโครงการ ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแล้ว โดยมีบริษัทควอนต้าของไต้หวัน เป็นผู้ผลิต
สำหรับ "เอ็กซ์โอ" ชุดแรกจะถึงมือเด็กนักเรียนในประเทศกำลังพัฒนา ประมาณเดือนตุลาคม หรืออีกเพียง 2 เดือนข้างหน้า
แม้จะมีผู้สงสัย "เอ็กซ์โอ" ในเรื่องมาตรฐาน เพราะราคาที่ถูกแสนถูก รวมทั้งผู้อยู่ในแวดวงคอมพิวเตอร์ยังข้องใจในเรื่องเทคนิค อย่างไม่มีฮาร์ดไดรฟ์
ความเห็นของบิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ ยังบอกวิจารณ์ว่า จอภาพเล็กไป กลัวเด็กๆ จะเขม้นตามอง กลายเป็นความทรมาน
ขณะที่อีกหลายเสียงวิจารณ์ว่า จะซื้อคอมพิวเตอร์ไปให้เด็กทำไม เอาเงินไปช่วยด้านสาธารณสุข การหาแหล่งน้ำสะอาด หรืออะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันดีกว่า
แต่ "เอ็กซ์โอ" ก็ลุยดงน้ำลายของคำวิจารณ์มาได้ และใกล้คลอดเต็มที
ผู้ดีไซน์ยืนยันว่า "เอ็กซ์โอ" ใช้งานได้ในหลายๆ พื้นที่ที่ห่างไกล เช่น เขตทะเลทรายในลิเบีย เขตเทือกเขาในเปรู ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนไฟฟ้า และเครื่องยังทำงานได้ดีแม้จะร้อนตับแลบถึง 50 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติอย่างนี้ไม่มีในคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป


ที่มา : http://www.tttonline.net/technologies/viewDetails.php?type_id=837&hot_id=4&hot_name=Computers