วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

1.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ คอมพิวเตอร์มี 8 ประเภท ได้แก่
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน




2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น




ที่มา : http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm


3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น




4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง






5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) จัดทำสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล



6.พีดีเอ PDA Personal digital assistants หรือ เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "PDA" (Personal digital assistants) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งนั่นเองคะ เพียงแต่ว่ามันถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวกและยังสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว คนทั่วไปนิยมใช้พีดีเอในการจดบันทึก, เก็บข้อมูล, เตือนเวลานัดหมาย, ปฏิทิน นอกจากนี้ เราสามารถเพิ่มแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่น ๆ ตามที่เราต้องการได้อีกด้วยนะคะ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง บันทึกเสียง เกมส์ การทำเอกสาร word หรือ excel ทุกวันนี้พีดีเอหลัก ๆ ที่เรารู้จักกันก็จะมีพีดีเอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC เครื่องพีดีเอหลายรุ่นมีความสามารถเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยทีเดียวนะคะ สามารถต่อเน็ตเวิร์ค จีพีอาร์เอส (GPRS) มี วายฟาย (Wifi) เชื่อมเครื่องพีดีเอเข้าอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะใช้เป็นโทรศัพท์มือถือ มีจีพีเอส (ระบบติดตามตัวผ่านดาวเทียม) กล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ได้ด้วย



7. คอมพิวเตอร์เครือข่าย ( Network Computer )การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้



8. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม





2.คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร ใช้ประโชยน์อะไรได้บ้าง
ตอบ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ


ที่มา : http://www.tp.th.gs/web-t/p/index3.htm





3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูล (Data) ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประมวลผลใดๆ จึงเป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไป
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยขั้นตอนในการประมวลคือมีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร แล้วนำไปดำเนินการประมวลผลโดย ใช้วิการจัดแบ่งข้อมุล แบ่งเป็นกลุ่มๆตามประเภทและจัดเรียงข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและ สุดท้ายการคำนวณข้อมูล ซึ่งข้อมุลบางตัวนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจึงจะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งานและเป็นข้อมุลสุดท้ายที่ได้มานั้นดีที่สุด และหลังจากการประมวลผลแล้วนั้นเราก็ต้องจัดเก็บข้อมูล โดยอาจจะใช้การจัดเก็บลงเครื่องหรือสื่อบันทึกต่างๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อีกด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "ข้อมูล" คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่ม เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับ "สารสนเทศ" นั้นคือ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆแล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถนำมาอ้างอึง ใช้งานได้เลย






4.VLSI คืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI) ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม







5.นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในประโยชน์อะไรบ้าง

ตอบ เราจะใช้คอมพิวเตอร์โดย

1. การพิมพ์งานต่างๆ

2.ใช้ในการสืบหาข้อมุลต่างๆ

3.ใช้เล่นเพื่อความบันเทิง ผ่อนคลาย

4.ใช้เพื่อศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น: